วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

Moneyball (2011) : ไม่ใช่เกมส์กีฬาแต่มันคือชีวิต



"เวลาได้ดูหนังดีๆซักเรื่อง มันเหมือนได้ของขวัญล้ำค่าจากพระเจ้า" ผมพูดเอง
เพราะว่า เวลาเราได้ดูหนังดีๆซักเรื่อง มันเหมือนเรามองเห็นแสงจากปลายอุโมงค์ ทำเปิดมุมมองเรา มันให้คำตอบกับคำถามที่คาใจ ให้คำตอบจากชีวิตของคนในหนัง มันให้.........กับคนดู สำหรับผมหนังแบบนี้เป็นหนังดี ทั้งๆที่บางเรื่องอาจเรตติ้งต่ำ นักวิจารณ์ด่าเสียเท่เสีย รายได้ต่ำติดดิน แต่เมื่อเราดูมันเหมือนโดนตีกบาล นั่นละคุณได้ของขวัญไปแล้ว


                                                        Moneyball (2011)
                                                           Biography | Drama | Sport

Director: 

Bennett Miller

Writers: 

Steven Zaillian (screenplay)Aaron Sorkin

Brad Pitt รับบทเป็น Billy Beane ผู้จัดการทีมเบสบอล โอ๊คแลนเอส์ ถ้าตามที่บีนพูดในหนัง "There are rich teams and there are poor teams, then there's fifty-feet of crap, and then there's us." ก็พอทำให้เราเข้าใจระดับนี้ของเขาตอนนี้ เมื่อจบฤดูกาล 2001 ทีมของบิลลี่ก็ต้องเจอปัญหาใหญ่เมื่อ สมาชิกทีมตัวเก่งถูกซื้อ 3 ตัวรวด ซึ่งทั้ง 3 คนเป็นตัวยืนของทีมเลยก็ว่าได้ บิ่ลลี่จึงต้องปฏิวัติทีมยกใหญ่โดยเขาไปเจอเข้ากับ ปีเตอร์ แบรนด์ นิสิตเศรษฐศาสตร์จบใหม๋จากเยล ที่นำสูตรการคำนวณมาใช้กับตัวนักกีฬาแต่ละคน และใช้หลักสถิติในการเลือกนักกีฬาเข้าทีมและลงสนาม ซึ่งการกระทำของทั้งคู่นั้นถูกต่อต้านและดูถูกจากคนในวงการ เพราะมันเป็นการปฏิวัติวงการเบสบอลที่มีมา 150 ปี แต่ใครจะรู้ว่าการปฏิวัติครั้งนี้มันได้เป็นแบบอย่างให้กับวงการจนทุกทีมในปัจจุบันก็ใช้วิธีเดียวกันนี้


เหล่าทีมงานที่ปฏิเสธการทำทีมใหม่ของ Beane 


1. การเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่างมันต้องใช้ความเชื่อมั่นอย่างมาก :  อย่างที่ Billy Beane พูดไว้ในหนัง "Adapt Or Die" จะปรับหรือตาย ในภาวะที่่ทีมวิกฤต Beane มีความเชื่อมั่นในการทำทีมแบบใหม่ของเขาที่นำค่าสถิติมาเป็นตัวตัดสินใจเซ็นสัญญากับผู้เล่น และส่งผู้เล่นลงสนาม แต่ทีมงานของเขาไม่เอาด้วย ทีมงานเลือกจะเชื่อ ประสบการณ์ (ความเคยชิน) ของตัวเขาและระบบแบบเก่าที่เลือกผู้เล่นจาก การจดสถิติ ดูรูปลักษณ์ภายนอก นิสัย หน้าตาแฟน ฯลฯ แต่ไม้ทีมงานของ Beane จะไม่เอาด้วย แต่เขายังคงเชื่อในรูปแบบใหม่ แม้ความเชื่อของเขาจะยังไม่มากพอ

Scott Hatteberg ผู้เล่นถูกทิ้งที่ Beane ไปดึงตัวมา
2. โอกาสในวิกฤต : แม้เขาจะเชื่อในการทำทีมแบบใหม่ของเขา แต่เขาก็ยังไม่กล้าเอาผิดกับ Art Howe ทีมงานที่ทำทีมในสนามขณะแข่ง ที่ไม่เลือกนักเตะลงตามที่เขาสั่ง เพราะในใจลึกๆของเขาเองก็ยังไม่มั่นใจเต็มร้อย จนทีมเข้าสู่วิกฤตหนัก แพ้รวดอยู่อันดับท้ายของตาราง และเมื่อไม่มีอะไรให้เสียอีกแล้ว  Beane วางเดินพันกับการทำทีมรูปแบบนี้ทั้งหมด เชื่อมันในแผนเต็ม 100% ตัดสินใจขายนักเตะดาวดังของทีมออกจนใหม่แล้วดึงเอานักเตะเหลือใช้ที่มีสถิติดีมาแทน จนทำให้ทีมพลิกฟื้นกลับมาชนะอีกครั้ง
Brad Pitt ในบท Billy Beane ผู้จัดการทีมหัวขบฎ
Billy Beane ตอนหนุ่มในฐานะผู้เล่นดาวรุ่ง
3. เรื่องราวในอดีตฝังใจ : Billy Beane ก่อนจะมาเป็นผู้จัดการทีมเขาเคยเป็น ผู้เล่นดาวรุ่งที่ครบเครื่องในทุกด้าน ขว้างลูก วิ่งเบส ตีบอล แมวมองจึงยื่นข้อเสนอให้เขา ในขณะเดียวกันกับแสตมฟอร์ดที่ให้ทุนเรียนกับเขา เช่นกัน เขาจึงต้องเลือกระหว่างอันใดอันหนึ่ง และเขาเลือกเบสบอล ซึ่งเส้นทางเบสบอลไม่ได้สวยหรูเหมือนที่เขาวาดไว้ ดาวรุ่งที่เด่นในทุกด้านเมื่ออยู่ในสนามกลับเป็นผู้เล่นธรรมดาแสนธรรมดา
อย่างตอนที่เขาถาม Peter Brand ว่าถ้าใช้หลักสถิติจะเลือกเขาเข้าทีมไหม? 
คำตอบคือไม่ เป็นผู้เล่นระดับ 9 แถมไม่มีโบนัสด้วย

ซึ่งการตัดสินใจครั้งนั้นมันยังติดตาตรึงใจเขาอยู่ทุกวัน จนทำให้เขาไม่กล้าที่จะเข้าสนามเพร่าะกลัวตัวเองจะเป็นตัวซวยทำให้ทีมแพ้ และสิ่งที่ช่วยเขาได้มากที่สุดก็คือเสียงน้อยๆหวานๆจากลูกตัวน้อยของเขา 

Jonah Hill รับบทเป็น Peter Brand นักเศรษฐศาสตร์ที่นำหลักสถิติเข้ามาใช้
4. เป้าหมาย : "ตีลูกให้ถึงดวงจันทร์ ถ้าไม่ถึงก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว" เหมือน Billy Beane จะไม่เคยได้ยินประโยคข้างต้นนี้ Beane เป็นคนหนึ่งที่ยึดติดกับเป้าหมายอย่างมาก เขาต้องการพาทีมคว้าแชมป์ให้ได้ เพราะเขารู้ว่าการที่ทีมแม้จะทำสถิติได้ดี สร้างปาฏิหาริย์มากมาย แต่ถ้าไม่ได้แชมป์มันก็สูญเปล่า เพราะมันจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมาเลย แต่การที่เขายึดติดกับเป้าหมายขนาดนี้ทำให้เขามองไม่เห็นว่าเขาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับวงการเบสบอลไปบ้าง จน Peter Brand ต้องเตือนสติเขาโดนให้ดูวีดีโอหนึ่งอันเป็นเรื่องราวที่ชายคนหนึ่งตีโฮมรันไปแล้วแต่เขาไม่รู้ตัว แต่คนทั้งสนามรู้ว่าชายคนนั้นตีโฮมรันไปแล้ว มันคือการเปรียบเปรยว่า การกระทำของ Beane มันเหมือนตีโฮมรัน ทุกคนรู้สึกถึงมันได้ มีแต่นายที่ไม่รู้ว่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างไปแล้ว



5. เรื่องราวดีๆอยู่รอบตัว : สิ่งที่ดีไม่ได้อยู่เฉพาะในภาพยนตร์ บทเพลง หนังสือ เรื่องราวรอบตัว อาจทำให้เกิดอะไรบางอย่างกับเราเหมือนอย่างบทเพลงจากนางฟ้าตัวน้อยที่ช่วยให้ Billy Beane ก้าวผ่านวังวนกับเรื่องราวในอดีตของตัวเอง



IMDB : 7.8/10
Rotten Tomatoes : 95%
Makopoto : 10/10 ใครต้องการไปดูหนังกีฬาเบสบอลเอามันส์ขอให้ถอย เรื่องราวของหนังมันคือชีวิต ชีวิตของ Billy Beane และการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่างซึ่งมันเกิดในสนามเบสบอลเท่านั้นเอง ไม่ได้ดูคนเล่นเบสบอลหรอก
(ลังเลตอนแรกจะเป็น 9 หรือ 10 ดี เพราะตัวหนังที่มีบทพูดยาวเหยียดพอๆกับ Social Network อาจทำให้คนดูมึน เบื่อกับบทสนา เหมือนอย่างที่ Social เจอมาก่อน แต่อีกใจมันคือ 10 เต็มกับการทำหนังที่เนื้อหาบทสนทนายาวเหยียดออกมาได้ไม่น่าเบื่อ และ ถ่ายทอดเนื้อหาแง่คิดออกมาเต็มๆ)






วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

รายชื่อหนังเข้าชิงออสการ์ ครั้งที่ 84 ปี 2012

The full list of nominees is below:
BEST PICTURE
The Artist
The Descendants
Extremely Loud & Incredibly Close
The Help
Hugo
Midnight in Paris
Moneyball
The Tree of Life
War Horse
BEST DIRECTOR
The Artist - Michel Hazanavicius
The Descendants - Alexander Payne
Hugo - Martin Scorsese
Midnight in Paris - Woody Allen
The Tree of Life - Terrence Malick
BEST ACTOR
Demián Bichir - A Better Life
George Clooney - The Descendants
Jean Dujardin - The Artist
Gary Oldman - Tinker Tailor Soldier Spy
Brad Pitt - Moneyball
BEST SUPPORTING ACTOR
Kenneth Branagh - My Week With Marilyn
Jonah Hill - Moneyball
Nick Nolte - Warrior
Christopher Plummer - Beginners
Max von Sydow - Extremely Loud & Incredibly Close
BEST ACTRESS
Glenn Close - Albert Nobbs
Viola Davis - The Help
Rooney Mara - The Girl with the Dragon Tattoo
Meryl Streep - The Iron Lady
Michelle Williams - My Week With Marilyn
BEST SUPPORTING ACTRESS
Bérénice Bejo - The Artist
Jessica Chastain - The Help
Melissa McCarthy - Bridesmaids
Janet McTeer - Albert Nobbs
Octavia Spencer - The Help
BEST ANIMATED FILM
A Cat in Paris
Chico & Rita
Kung Fu Panda 2
Puss in Boots
Rango
BEST ADAPTED SCREENPLAY
The Descendants - Alexander Payne and Nat Faxon &
Jim Rash

Hugo - John Logan
The Ides of March - George Clooney & Grant Heslov and Beau Willimon
Moneyball - Screenplay by Steven Zaillian and Aaron Sorkin
Story by Stan Chervin

Tinker Tailor Soldier Spy - Bridget O’Connor & Peter Straughan
BEST ORIGINAL SCREENPLAY
The Artist - Michel Hazanavicius
Bridesmaids - Annie Mumolo & Kristen Wiig
Margin Call - J.C. Chandor
Midnight in Paris - Woody Allen
A Separation - Asghar Farhadi
ART DIRECTION
The Artist - Production Design: Laurence Bennett, Set Decoration: Robert Gould
Harry Potter and the Deathly Hallows Part 2 – Production Design: Stuart Craig, Set Decoration: Stephenie McMillan
Hugo - Production Design: Dante Ferretti, Set Decoration: Francesca Lo Schiavo
Midnight in Paris - Production Design: Anne Seibel, Set Decoration: Hélène Dubreuil
War Horse - Production Design: Rick Carter, Set Decoration: Lee Sandales
CINEMATOGRAPHY
The Artist - Guillaume Schiffman
The Girl with the Dragon Tattoo - Jeff Cronenweth
Hugo - Robert Richardson
The Tree of Life - Emmanuel Lubezki
War Horse - Janusz Kaminski
COSTUME DESIGN
Anonymous - Lisy Christl
The Artist - Mark Bridges
Hugo - Sandy Powell
Jane Eyre - Michael O’Connor
W.E. - Arianne Phillips
BEST DOCUMENTARY FEATURE
Hell and Back Again
If a Tree Falls: A Story of the Earth
Liberation Front
Paradise Lost 3: Purgatory
Pina
Undefeated
BEST DOCUMENTARY SHORT
The Barber of Birmingham: Foot Soldier of the Civil Rights Movement
God Is the Bigger Elvis
Incident in New Baghdad
Saving Face
The Tsunami and the Cherry Blossom
BEST FILM EDITING
The Artist - Anne-Sophie Bion and Michel Hazanavicius
The Descendants - Kevin Tent
The Girl with the Dragon Tattoo - Kirk Baxter and Angus Wall
Hugo - Thelma Schoonmaker
Moneyball - Christopher Tellefsen
BEST FOREIGN LANGUAGE FILM
Bullhead - Belgium
Footnote - Israel
In Darkness - Poland
Monsieur Lazhar - Canada
A Separation - Iran
BEST MAKEUP
Albert Nobbs - Martial Corneville, Lynn Johnston and
Matthew W. Mungle

Harry Potter and the Deathly Hallows
Part 2 - Nick Dudman, Amanda Knight and Lisa Tomblin
The Iron Lady - Mark Coulier and J. Roy Helland
BEST ORIGINAL SCORE
The Adventures of Tintin - John Williams
The Artist - Ludovic Bource
Hugo - Howard Shore
Tinker Tailor Soldier Spy - Alberto Iglesias
War Horse - John Williams
BEST ORIGINAL SONG
Man or Muppet - The Muppets, Music and Lyric by Bret McKenzie
Real in Rio – Rio, Music by Sergio Mendes and Carlinhos Brown
Lyric by Siedah Garrett
BEST ANIMATED SHORT
Dimanche/Sunday - Patrick Doyon
The Fantastic Flying Books of Mr. Morris Lessmore - William Joyce and Brandon Oldenburg
La Luna - Enrico Casarosa
A Morning Stroll - Grant Orchard and Sue Goffe
Wild Life - Amanda Forbis and Wendy Tilby
BEST LIVE FILM
Pentecost - Peter McDonald and Eimear O’Kane
Raju - Max Zähle and Stefan Gieren
The Shore - Terry George and Oorlagh George
Time Freak - Andrew Bowler and Gigi Causey
Tuba Atlantic - Hallvar Witzø
BEST SOUND EDITING
Drive - Lon Bender and Victor Ray Ennis
The Girl with the Dragon Tattoo - Ren Klyce
Hugo - Philip Stockton and Eugene Gearty
Transformers: Dark of the Moon - Ethan Van der Ryn and Erik Aadahl
War Horse - Richard Hymns and Gary Rydstrom
BEST SOUND MIXING
The Girl with the Dragon Tattoo - David Parker, Michael Semanick, Ren Klyce and Bo Persson
Hugo - Tom Fleischman and John Midgley
Moneyball - Deb Adair, Ron Bochar, Dave Giammarco and
Ed Novick

Transformers: Dark of the Moon - Greg P. Russell, Gary Summers, Jeffrey J. Haboush and Peter J. Devlin
War Horse - Gary Rydstrom, Andy Nelson, Tom Johnson and
Stuart Wilson
BEST VISUAL EFFECTS
Harry Potter and the Deathly Hallows
Part 2 - Tim Burke, David Vickery, Greg Butler and
John Richardson

Hugo - Rob Legato, Joss Williams, Ben Grossman and
Alex Henning

Real Steel - Erik Nash, John Rosengrant, Dan Taylor and Swen Gillberg
Rise of the Planet of the Apes - Joe Letteri, Dan Lemmon, R. Christopher White and Daniel Barrett
Transformers: Dark of the Moon - Scott Farrar, Scott Benza, Matthew Butler and John Frazier
NOMINEES TALLY
Hugo11
The Artist10
Moneyball6
War Horse6
The Descendants5
The Girl With The Dragon Tattoo5
Midnight In Paris4
Albert Nobbs3
Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 23
Tinker Tailor Soldier Spy3
Transformers: Dark Of The Moon3
The Tree Of Life3
The Iron Lady2
My Week With Marilyn2
A Seperation2

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

Pan's Labyrinth (2006) นิทานบนโลกความจริง



Drama | Fantasy | War

Pan's Labyrinth หนังเรตติ้งดี และได้ยินชื่อมานาน จนได้ประจักษ์กับตัวเองวันนี้
ว่ามันเป็นหนังที่ดูยากนะ = =" จากความคิดมันต้องเป็นโลกแฟนตาซีสดใส เด็กน้อยผจญภัย แต่ไม่ใช่เลย
ข้อเตือน : ใครกำลังจะหยิบหนังมาดูกับแฟน และลูกตัวน้อย ไม่ควรอย่างยิ่ง อเมริกาจัดเรตให้เรื่องนี้คือ R เพราะฉากปีศาจน่าเกลียดน่ากลัว ปากฉีก หน้ายุบ ยิงระเบิด 

Pan's Labyrinth เล่าเรื่องของเด็กน้อย โอฟีเลีย หนังจากที่พ่อของตนเสียไป แม่มาแต่งงานกับสามีใหม่ ซึ่งเป็น นายกอง ที่ดุดัน แถมยังเป็นฝั่งที่สังหารพ่อแท้ๆของตนอีก โอฟีเลียจึงต้องย้ายมาอยู่ท่ามกลางสงครามของ ทหาร กับฝ่ายต่อต้าน ซึ่ง ณ ดินแดนนี้เอง โอฟีเลีย ได้พบกับนางฟ้าที่จะพาเธอกลับสู่ดินแดนใต้ดิน ที่เธอจากมา

โปสเตอร์หนัง บรรยากาศแอบน่ากลัว แต่ใครจะสังเกตุเห็นถ้าไม่ได้ดูหนังซะก่อน

โลกใต้พิภพในจินตานาการของเด็กน้อย

ขอยืมบทความของคุณ ผมอยากที่จะเชื่อมาเล่าต่อ เขาเขียนได้ดีมากจริงๆ


โลกแห่งจินตนาการนั้นเธอคือเจ้าหญิงที่พลัดพลากจากถิ่นที่อยู่ และหลงลืมเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรของเธอไปแล้ว และตอนนี้เธอได้กลับมายังดินแดนของเธออีกครั้ง ได้มาสู่ประตูมิติแห่งสุดท้ายที่สามารถพาเธอกลับไปยังโลกของเธอ เธอได้พบกับเทพารักษ์ แต่เทพารักษ์ (ฟอน) นั้นได้กำหนดไว้ว่า การที่เธอจะกลับเข้าสู่พระราชวังได้เธอนั้นต้องผ่านการทดสอบสามอย่าง
ฟอน เทพารักษ์ในมุมมองของ โอลีเวีย 
ตรงนี้หากมาพิจารณาแล้วจะพบว่าโลกแห่งจินตนาการของโอฟีเรียนั้นช่างหม่นหมอง มืดมัว แม้แต่ฟอนเองก็รูปร่างประหลาดอัปลักษณ์นั่นคงเป็นเพราะ ถึงจะเป็นโลกแห่งจินตนาการของเธอ แต่จินตนาการ (fantasy) นั้นก็มาจากจิตใต้สำนึก (unconscious) ของเธอ ทำให้มันสะท้อนภาพของสิ่งแวดล้อมภาพนอกของเธอ ที่เป็นสงคราม มีแต่ความรุนแรง ก้าวร้าว หม่นหมอง..... 
หากมาพิจารณาแล้ว การที่เด็กสาวคนหนึ่ง”โอฟิเลีย” ที่ชอบอ่านนิยายอย่างมาก ต้องสูญเสียพ่อไป แถมพ่อใหม่ที่เข้ามายังดุ ก้าวร้าว ไม่อ่อนโยน ที่สำคัญดันเป็นฝ่ายตรงข้างที่สังหารพ่อตัวเอง นอกจากนั้นยังต้องย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีการรบพุ่งกันอยู่อีกต่างหาก และมีแต่ทหารอายุมาก ๆ ไม่มีเด็ก ๆ คนอื่นอยู่เลย ซึ่งสภาพที่อยู่เหล่านี้ ไม่เหมาะสำหรับเด็กโดยสิ้นเชิง ในสภาพที่กดดัน เพื่อนเล่นก็ไม่มี สภาพแวดล้อมที่โหดร้ายต่อจิตใจ สิ่งเดียวที่น่าจะทำให้เธอเพลิดเพลินใจได้นั้นคือการอยู่ในโลกของจินตนาการ (fantasy defense mechanism)

การทดสอบแรก .... ทดสอบความกล้า
การทดสอบแรกของเธอนั้น เธอต้องเอาหินสามก้อน ใส่เข้าในปากคางคกยักษ์ที่อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ และเอากุญแจทองคำออกมาจากท้องของมัน 
การที่เธอต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเธอนี้ สิ่งแรกที่จะทำให้เธออยู่รอดได้นั้นคือความกล้า กล้าที่จะต่อสู้กับความยากลำบาก ต่อสู้กับสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ต่อสู้กับกัปปิติน (พ่อใหม่) ที่ดุร้ายกับ และอีกสิ่งที่หนึ่งที่เธอต้องต่อสู้ในความคิดของเธอนั่นคือ การที่ไม่มีใครเชื่อในเรื่องที่เธอเล่าเลย แม้แต่แม่ของเธอและเมอซิเดสส์ที่คอยบอกว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนไม่มีจริง เป็นแค่ความเชื่อ และจินตนาการอันไร้สาระของเธอ

การทดสอบที่สอง ..... ทดสอบความยับยั้งชั่งใจ
การทดสอบที่สอง เธอต้องเดินเข้าไปในห้อง ๆ หนึ่งที่มีปีศาจน่ากลัวอยู่ เธอต้องเดินเข้าไปข้างในไขกุญแจตู้ ๆ หนึ่งเพื่อเอากริชทองออกมา โดยที่ระหว่างทางที่เดินไป บนโต๊ะอาหาร จะมีของกินมากมาย เธอต้องไม่แตะต้องมัน .....
หากมาวิเคราะห์แล้ว เราจะพบว่าวันก่อนตอนกลางคืน หลังจากที่เธอไปทำภารกิจแรก จนชุดตัวสวยที่แม่เธอให้ใส่ เปื้อนโคลนอย่างยับเยิน จนเธอถูกแม่ทำโทษให้อดอาหารเย็น เมื่อมองด้านทฤษฏีของ Freud แล้ว Freud บอกว่าจิตใจมนุษย์มีสามส่วนคือ id, ego ,superego กล่าวง่าย ๆ id นั้นคือแรงขับด้านความต้องการและความรุนแรง ego นั้นเป็นตัวควบคุมจัดการกับ id ไม่ให้แสดงออกมามาก superego คือส่วนที่เป็นคุณธรรมและศีละรรม
กลับมาที่โอฟีเรีย การที่เธอถูกอดอาหาร ทำให้จิตใต้สำนึกเธอย่อมปรารถนาอยากที่จะกิน เป็นความอยาก .... ทำให้ในจินตนาการนั้น เธอสร้างของกินขึ้นมามากมาย ซึ่งภารกิจนั้นเธอจะถูกสั่งให้ห้ามกินของทุกอย่าง (เหมือนที่แม่เธอสั่ง) และเมื่อเธอหักห้ามใจไม่ได้เธอก็ถูกปีศาจไล่ล่าทำร้าย ซึ่งปีศาจนั้นก์คือตัวแทนของจิตใจส่วนที่ดีงาม (superego) ของเธอที่บอกว่าควรที่จะทำตามที่ผู้ใหญ่บอก ถ้าหากฝ่าฝืนแล้วก็จะถูกลงโทษ


การทดสอบที่สาม ..... ทดสอบศีลธรรมความดีงาม และการเสียสละ
ภารกิจที่สามของเธอคือการเอาน้องชายของเธอ ไปมอบให้ฟอนเพื่อให้ฟอนทำพิธีสังเวย เพื่อที่โอฟิเลียจะได้กลับไปสู่โลกของเธอได้
หากมาพิจารณาดูแล้ว เราจะพบว่าก่อนหน้านี้ โอฟีเรียนั้น ได้ยิน กัปปิตัน (พ่อใหม่ของเธอ) พูดกับหมอว่า ยังไงซะหากการตั้งครรค์มีปัญหา ถ้าให้ต้องเลือก ให้เลือกให้ลูกรอดก่อนแม่ ..... และในตอนหนึ่งที่แม่เธอตกเลือด ต้องนอนพักอยู่นั้น เธอได้ไปพูดกับน้องว่า “น้องรัก น้องทำให้แม่ป่วยหนักมาก เมื่อน้องจะออกมา พี่ขออย่างเดียวเท่านั้น จงอย่าทำร้ายแม่ของเรานะ” “ถ้าน้องทำตามพี่ พี่สัญญาว่าจะพาไปอาณาจักรของพี่ พี่จะให้น้องเป็นเจ้าชาย” แต่การที่เมื่อแม่ของเธอคลอดแล้วแล้วเสียชีวิตนั้น ย่อมทำให้เธอเสียใจมาก ..... ความเสียใจ และความโกรธนี้ทำให้ภายในจิตใต้สำนึกนั้น id ที่มีความก้าวร้าวรุนแรงนั้น โกรธแค้นจนอยากให้น้องตาย (เรียกว่าเป็น death wish) ทำให้ในจินตนาการของเธอออกมาเป็นการนำน้องชายไปทำพิธีสังเวย (คือทำให้ตาย) โดยฟอนในภารกิจสุดท้ายนั้นเป็นสัญลักษณ์ (symbolic) ของความปรารถนาอันชั่วร้ายของเธอ
แต่สิ่งที่ต่อต้านความปรารถนาลึก ๆ ของเธออยู่นั่นก็คือ จิตใจส่วนที่เป็นศีลธรรมและความดีงาม (superego) ภารกิจสุดท้ายนี้จึงเป็นการต่อสู้กันเองภายในจิตใจของเธอ ระหว่างความปรารถนาอันรุนแรงความชั่วร้าย (ซึ่งแทนด้วยตัวฟอน) กับศีลธรรมอันดีงามของเธอ (แทนด้วยตัวของเธอเอง) ..... ซึ่งท้ายที่สุด เธอก็เป็นผู้ชนะ เธอเลือกที่จะทำตามศีลธรรมอันดีงามของเธอเอง ยอมที่จะเสียโอกาสในการเข้าปราสาทที่เธอต้องการ เธอยอมที่จะเสียสละ ......... เธอเลือกที่จะส่งน้องชายคืนให้กัปปิตัน ก่อนที่เธอจะถูกยิงล้มลง .... การเลือกที่จะทำความดีนั้นย่อมทำให้จิตใจรู้สึกดี และมีความสุข ....... นั่นส่งผลให้จินตนาการก่อนเสียชีวิตของเธอเต็มไปด้วยความสุขสงบ .... เธอได้กลับไปยังปราสาทของเธอ ได้อยู่กับพ่อ แม่ ประชาชนตบมือให้การยอมรับในตัวเธอ ท่ามกลางอาณาจักรแห่งความสุข แม้ว่าในชีวิตจริงเธอจะเสียชีวิตก็ตามที 
แมลงตัวน้อยที่กลายเป็นนางฟ้า

โลกความเป็นจริงที่โหดร้าย 
คนที่ดีๆกับเธอที่สุด เมอร์ซิเดส สายลับของฝ่ายต่อต้าน
Pan's Labyrinth IMDB : 8.4/10
                        Rotten Tomatoes : 95%
                        Makopoto : 8/10 การผสานโลกจินตานาการ กับโลกความจริงทำได้ดี อารมณ์ร่วมของคนดูก็ทำได้ดู เราทั้งลุ้นทั้งกลัวไปกับเรื่องราวของทั้งสองโลก แต่เนื้อหา สารที่ต้องการส่ง อาจจะเข้าถึงยากไปหน่อย ทำให้หนังเรื่องนี้ ถ้าคนดูไม่เก็ท ไม่คิดลึก(มากๆ) มันคงจะเป็นหนังภาพสวย เนื้อเรื่องโหด ธรรมดาไป

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

American Psycho (2000) : สุดท้ายเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นจริงหรือคิดไปเอง



American Psycho (2000)

Director: 

Mary Harron
Crime | Drama 

IMDB : 7.5/10
Rotten Tomatoes : 67%

คริสเตียน เบลล์ รับบทเป็น แพทริค เบทแมน ชายหนุ่มผู้เพียบพร้อม หน้าที่การงาน ฐานะการเงิน หน้าตาในช่วงกลางวันเขาเป็นผู้บริหารบริษัท พี แอนด์ พี บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น กลางคืนเขาเป็นมนุษย์ผู้กระหายเลือด 

หนังเรื่องนี้คือการตามติดชีวิตของ เบทแมน ไปเจอสังคมที่มีการแก่งแย่งชิงดี ขี้อิจฉา ต้องการความสมบูรณ์แบบ และความจิตหลอนของพระเอก หนังเรื่องสร้างมาเมื่อปี 2000 แต่การจิกกัดสังคมผ่านหนังเรื่องนี้ก็ยังคงสืบมาต่อเรื่อยๆ 

แพทริค เบทแมน ในบทบาทผู้บริหารระดับสูงของบริษัท
ฉากร่วมเพศกับโสเภณี 2 คนที่เบทแมนค่อยส่องกระจกดูความสมบูรณ์แบบ
ของตัวเองตลอดเวลาขณะปฏิบัติภารกิจ

แพทริค เบทแมน ในวัย 27 ปีเขาก็เพียบพร้อมในทุกอย่างแล้ว หน้าตา ฐานะ การเงิน สิ่งเหล่านี้มันทำให้เขากลายเป็นบุคคล Profectionist ที่ต้องการความสมบูรณ์แบบในทุกอย่าง ทำให้เขารังเกียจสังคม ดูถูกคน และ รู้สึกอิจฉา ถ้าใครคนอื่นมีสิ่งที่ดีกว่าตน 
- Profectionist เบทแมนที่ต้องดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอดเวลา ด้วยเครื่องสำอางค์หลาย 10 ชนิดในฉากเปิดตัว การอาบน้ำ 3 รอบ พอกหน้า 3 ชั้น การไม่ให้มีสิ่งของวางออกนอกระเบียบ ห้องของเบทแมนที่มีระเบียบเรียบร้อย เปิดโล่งไม่มีสิ่งของวางให้เกะกะสายตา และ ห้ามใครมาวางของไม่ถูกที่(อย่างในฉากที่จีนรับประทานไอศครีม) 
- ความอิจฉาตาร้อน กับนามบัตรของคนอื่นที่ดูดีกว่า ห้องของคนอื่นที่ทำเลดีกว่า ร้านอาหารมีรสนิมยมมากกว่า จนทำให้ตัวเบทแมนรังเกียจการถูกแตะตัว เพราะเขาจะต้องยืนอยู่บนกว่าคนอื่น


กลุ่มเพื่อนที่บริษัท ที่ต้องคอยแก่งแย่งชิงดีกัน โดยในฉากด้านบนสะท้อนออกมาในรูปแบบรสนิยมผ่านนามบัตรของแต่ละคน ที่จะมีสีตัวอักษร ความหนาตัวอักษร กระดาษ แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเรามองในสายตาคนดู นามบัตรเหล่านั้นทุกใบก็ยังคงสวยงาม ไม่ขี้ริ้วขี้เหร่ แต่ในสถานะการณ์จริง เราก็เหมือนกับสถานะการณ์แลกดูนามบัตร เราแข่งขันกันตลอดเวลาอาจจะเป็น มือถือ เสื้อผ้า รถยนต์ และอื่นๆอีกมากมาย

ฉากวางแผนสังหาร
จิตตก กับฉากแก้ผ้าแบกเลื่อยไล่ฆ่าโสเภณี
เสื้อกันฝน เพลงเพราะ สนทนา กับฉากขวานจาม พอล แอลเลน
ชีวิตกลางคืนของ เบทแมน เหมือนเป็นการระเบิดความเก็บกดในช่วงกลางวัน โดยปลดปล่อยออกมาด้วยความรุนแรงในการฆาตกรรม เริ่มจาก คนจรจัด สัตว์ เพื่อน โสเภณี จนกระทั่ง คนเดินผ่านไปมา
โดยในการฆ่าของเบทแมน เสียงเพลง การพูดคุย SEX เป็นสิ่งจำเป็นเหมือนเป็นเครื่องเพิ่มความสุนทรีย์ ความบันเทิงให้กับตนก่อนลงมือ 


ในฉากจบของหนังเป็นฉากจบที่หักมุมสุดๆ กับการที่คนดูยังคงต้องถกเถียงกันว่า เหตุการณ์ในเรื่องเป็นเช่นไรกันแน่ เบทแมนลงมือทำจริง หรือ เพียงคิดไปเอง 
โดยความคิดส่วนตัวของเจ้าของกระทู้นี้ เอนเอียงไปทางคิดไปเอง ด้วยปัจจัยดังนี้
1. ฉากผ้าปูพรมที่เบทแมน ไปคุยกับแฟน ภาพเขียนที่ตรงกับเหตุการณ์จริง ถ้าเป็นจริงมันคือหลักฐานที่น่าจะช่วยให้ถูกสืบตามตัวได้เร็วขึ้น (เหมือนเป็นฉากบอกใบ่้)
2. นักสืบในตอนจบหายไปเฉยๆ ทั้งที่ตามสืบจนใกล้แล้ว (สนับสนุนว่าคำพูดของทนายเป็นจริง)
3. หนังสือที่ จีน พบในโต๊ะของเบทแมน ที่เป็นภาพวาดความรุนแรงต่างๆ (น่าจะแสดงถึงความรุนแรงความนึกคิดของเบทแมน เรื่องเล่าเรื่องความคิดในตอนเบทแมนวาดภาพ)
4. เหตุการณ์ทั้งหมดถ้าเกิดขึ้นจริง เมืองนั้นคงน่ากลัวมาก ที่ตำรวจไม่รู้ เพื่อนบ้านไม่รู้ถึงการกระทำที่โจ่งแจ้งของ เบทแมน ไม่ว่าจะการลากศพไปทิ้ง(ทิ้งคราบเลือดเป็นทาง) แขวนศพไว้เต็มห้อง ถือเลื่อยไฟฟ้าไล่ฆ่าคนในตึก แถมเที่ยวบอกใครต่อใครว่าตนคือฆาตกรต่อเนื่อง

 Makopoto 8/10 เนื้อหาของเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก ฉากโหดร้ายที่พบเจอได้ตลอดช่วงกลางของหนัง ใครจิตอ่อน ไม่ชอบหนังแนวเครียด โหด หลีกเลี่ยงไว้จะดี แต่ใครที่ชอบต้องหามาดูให้ได้ครับ 



วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ATM เออรัก เออเร่อ (2012)


หนังเรียกเสียงฮา ฉลองปี 555 ที่ได้พระเอกมาดร้ายมุกเพียบ เต๋อ มารับบทพนักงานแบงค์
ที่ออกมาฉากแล้วแบบไม่มีอะไรคนในโรงก็ฮากันแล้ว

สำหรับเนื้อเรื่องก็เป็นดั่งตัวอย่างหนัง เสือกับจิ๊บเป็นแฟนกัน ซึ่งบริษัทแบงค์ที่ทั้งคู่ทำงาน ห้ามพนักงานคบหาดูใจกันเด็ดขาด ถ้าจับได้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องลาออก จิ๊บที่เป็นหัวหน้างานหลังจากพึ่งไล่พนักงานคนหนึ่งออกเพราะฝ่าฝีนกฏก็ทนไม่ไหวมาระบายใส่กับเสือ ทำให้เสือต้องแก้ปัญหาด้วยการขอแต่งงานอย่างสุดละหุก แต่หลังจากที่ทั้งคู่ตกลงจองวันงานเสร็จ ATM ของธนาคารที่ทำงานอัพเดทซอฟแวร์ใหม่ก็เกิดปัญหาจ่ายเงินเกินขึ้น เสือจึงอาสาออกไปทวงเงินที่คนกดเกิดไปกลับมาโดยแลกกับการที่ จิ๊บจะต้องลาออกถ้าเขาทำสำเร็จ และถ้าไม่เขาจะลาออกเอง......

ปื้ดกับก๊อบ นักรักรุ่นเล็กกับท่าบอกรักความเสี่ยว 5 กะโหลก ถ้าเดินสยามเห็นเด็กบอกรักท่านี้
แล้วอีกฝ่ายไม่วิ่งหนี จะขอมอบโล่ให้กับท่านผู้กล้า
เพื่อนซี้ทั้งในภาพยนตร์ ละครทีวี นอกจอ กับฉากตีปิงปองที่ฮาระดับ 5 กะโหลก 
แม้หนังจะมุ่งไปที่ความสนุกสนาน หัวเราะ ตลกจิตใจเบิกบาน แต่ก็ยังมีแง่คิดที่แทรกตัวอยู่ในเสียงหัวเราะ
- ความโชคดี คำว่าโชคดีหลายคนคงอยากได้โชคที่ดี แต่ใครจะรู้ว่าในโชคนั้นจะมีคนอื่นที่เดือดร้อน หรือ โชคร้าย ในโชคดีของเราหรือเปล่า ในหนังให้คนเจอเงินที่กดเกิดจาก ATM เป็นคนโชคดีและ คนพนักงานแบงค์เป็นคนที่โชคร้าย ซึ่งในชีวิตจริงเราก็คงได้เจอกับเหตุการณ์อย่างนี้บ้างอย่าง การเจอของตก
- การแข่งกันเอาชนะ พระเอกนางเอกแม้จะพยายามแข่งกันเอาชนะ ในบ้างครั้งชีวิตมันก็ต้องเอาชนะแต่เราก็ต้องไม่ลืมเรื่องที่สำคัญกว่าผลของการแข่งขัน (ในบางฉากอาจต้องขึ้นคำเตือนคู่รักไม่ควรเลียนแบบเพราะอาจรุนแรงเกินไป)

คู่รักที่ไม่มีใครยอมใคร จิ๊บเสือแม้จะเถียงจะแข่งกันอยู่ตลอดเวลา
แต่เอาจริงๆก็รักและคอยช่วยเหลือกัน

จากการที่ผู้กำกับทำหนังรถไฟฟ้ามาหานะเธอ ประสบความสำเร็จและ เต๋อ ในบทบาท กวน มึน โฮ ที่ติดตา ทำให้การดู ATM จะเห็นภาพแทรกของ 2 เรื่องบนมาเป็นแว๊บๆบางฉาก
รถไฟฟ้ามาหานะเธอ - องค์ประกอบของเรื่อง รักรุ่นใหญ่ 1 คู่ รุ่นเล็ก 1 คู่
- สาวน้อยใน ATM คือ ก๊อบ มาชอบพระเอก และไปผิดใจกับ ปื้ด คล้ายๆในรถไฟที่ แพตตี้ชอบเคนแล้วแอบผิดใจกับ คริส หอวัง
- ฉากจบที่ปิ้วให้เศร้า นางเอกพระเอกแยกทางกัน ก่อนจะกลับมาเจอกันอีกครั้ง
กวน มึน โฮ - เพราะความเป็นเต๋อ และ คาเร็กเตอร์ที่เหมือนกันของพระเอกทั้ง 2 เรื่อง คือ ยียวน ตลก น่ารัก ทำให้หลายๆฉากน่าคิดว่า หรือจะเป็นคนคนเดียวกัน ช่วงทำงานแบงค์คือตอนรอติดต่อจาก หนูนา
- ฉากบอกรักนางเอก ผมรักคุณ ผมจึงยอมเป็นคนที่แพ้ ฉากนี้หล่อไปเลย


สำหรับพี่โจ๊ก ในตัวอย่างเหมือนจะมาเป็นตัวละครที่บทบาทสำคัญในการป่วนคู่รักพระนาง
แต่เอาเข้าใจบทไม่มากอย่างที่คิด และส่วนใหญ่ก็ไปอยู่ในตัวอย่างซะเกือบหมด
- ใครที่ชอบพี่โจ๊กรับประกันเล่มเต็ม มาเต็มกับความเป็น บร๊ะเจ้าโจ๊ก
= ใครไม่ชอบพี่โจ๊ก บทบาทก็ไม่เยอะขนาดที่จะให้ทำเราตัดสินใจไม่ไปดูเพราะเรื่องนี้ ลองไปดูก่อนอาจเปลี่ยนใจ

สำหรับหนังเรื่องนี้ 
IMDB : ไม่มีข้อมูล
Rotten Tomatoes : ไม่มีข้อมูล
Makopoto : ขอให้ความฮา 5 กะโหลก
เสี่ยว 4 กะโหลก
เนื้อหา 3 กะโหลก
(ใครจะบอกหนังดีคือหนังเครียด หนังแง่มุมเยอะๆ แต่หนังเบาๆที่เข้าไปดูหนังออกมาพร้อมเสียงหัวเราะและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น สำหรับผมหนังแบบหลังก็เป็นหนังดีเหมือนกัน)

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

Mission: Impossible - Ghost Protocol (2011)


Director: 

Brad Bird

การกลับมาอีกครั้งของหนังสายลับ พร้อมทำนองฝังหู ตึง ตึง ตึง ตึ้ง ตึง
เนื้อเรื่อง : อีธาน ฮันต์ สุดยอดสายลับ กลับมาลับภารกิจเสี่ยงตายอีกครั้ง โดยครั้งนี้เขากับเพื่อนจะต้องทำภารกิจโดยลำพัง ไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาล อีธาน ต้องต่อสู้กับ ดอกเตอร์เฮนดริก อาชญากรตัวร้ายจอมวางแผนที่ต้องการจะปล่อยอาวุธนิวเคลียร์โดยมีความเชื่อว่า นิวเคลียร์จะนำมาซึ่งความสันติ อีธานกับเพื่อนจึงต้องออกเดินทางเพื่อหยุดแผนร้ายนี้...


รายชื่อผู้ร่วมทีมสายลับ
1. สายสวยประจำทีม สายลับคาร์เตอร์ Paula Patton (Mandy ใน Hitch และ นางเอกใน Dejavu)
2. ผู้ช่วย IT Simon Pegg (คู่หูตำรวจบ้าจาก Hot Fuzz)
3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล Jeremy Reener (พระเอกจากหนังออสการ์กู้ระเบิด Hurt Locker)

Paula Patton กับชุดสุดสวยกับบทบาทล้วงรหัสจากมหาเศรษฐี
Michael Nyqvist จากพระเอกในเรื่อง The girl with dragon tattoo (Sweden)
มาเป็นอาชรญากรตัวร้ายใน Mission 4
Lea Seydoux ในบทนักฆ่ารับจ้างที่น่ารักเกินกว่าจะฆ่าใครได้
บทเธอเปิดตัวเหมือนตัวละครสำคัญแต่ฉากจะไปก็ไปซะงั้น
วัย 50 แต่หุ่นยังฟิตอยู่

สำหรับหนังสายลับตระกูล MI สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ฉากบู๊สุดมันส์ กับ อุปกรณ์ไฮเทค ในภาคนี้มีฉากใหญ่ๆหลายฉาก ไม่ว่าจะเป็นฉากที่ อีธานต้องปีนตึก เบิร์จดูไบ (ตึกที่สูงที่สุดในโลก) ฉากพายุทะเลทราย ฉากระเบิดที่รัสเชีย และอุปกรณืไฮเทคที่ทีมพระเอกนำมาใช้ อย่างถุงมือตุ๊กแก(ดูดติดพื้นที่ใช้ตอนปีนตึก) รถยนต์คันหรูในอินเดีย (จริงๆรถหรูทุกคัน) อุปกรณ์ทำเสียงน้ำหยด และที่เจ๋งที่สุดขอยกให้ อุปกรณ์ทำฉากหลอกตาในตอนเข้าไปขโมยข้อมูล

บูดาเปสต์ เหมือนจะเป็นเมืองสำคัญของเหล่าสายลับเพราะหนังที่เข้าพร้อมๆกันอย่าง Tinker Tailor Soldier Spy เนื้อเรื่องบางส่วนก็ไปอยู่ที่ บูดาเปสต์
ทำให้น่าสังเกตุหนังชนโรงปลายปีต้นปีนี้ มีความเกี่ยวพันกันเหลือเกิน 
- Sherlock กับ Mission ที่มีตัวร้ายต้องการทำสงครามเหมือนกัน
- Sherlock กับ Mission เอาตัวเอกของเรื่อง The Girl With Dragon tattoo มาแสดงนำ หนึ่งดี หนึ่งร้าย
- อีธาน ฮันต์ กับ เชอร์ล๊อค โฮล์ม ผมว่าบทบาททั้งคู่เหมือนกัน เหมือนเป็นสายลับทั้งคู่
- สถานที่เหตุการณ์ Tinker Tailor กับ Mission ณ บูดาเปสต์
- Tinker & Mission เหตุการณ์เกิดเพราะ สายลับถูกยิงตายขณะปฏิบัติงาน
- Tinker & Mission ทีมพระเอกถูกลอยคอปฏิบัติการเงียบ หนึ่งสืบเรื่องภายใน หนึ่งตามจับผู้ร้าย

ฉากปีนตึกเบิร์จดูไบ
อีธานกับการปลอมตัวเป็นนายพลรัสเชีย
 IMDB : 7.7/10
Rotten Tomatoes : 93%
Makopoto : 8/10 (ตัวละครอีธานยังคงเป็นตัวละครต้นแบบที่สมบูรณืพร้อมทั้งบุ๊นบู้ เสียสละ มีสติ เป็นผู้นำ จนไม่เห็นด้านมืดของตัวละครเช่นเคย ในขณะที่เพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆจะมีสิ่งที่ฝังอยู่ในใจเป็นปมอยู่ทุกคน)




Sherlock Holmes: A Game of Shadows (2011)




Sherlock Holmes : A Game Of Shadow

Director: 

Guy Ritchie

แม้จะชื่อเดียวกัน นักแสดงชุดเดียวกัน แต่ภาคแรกกับภาคสองไม่ได้มีความต่อเนื่องกันสำหรับคนที่จะไปชมหายห่วงสามารถดูภาคสองได้อย่างสบายใจครับ 

สำหรับภาคนี้ เชอร์ล๊อค โฮล์ม จะเจอกับคู่ปรับใหม่คือ ศาสตราจารย์มอริอาร์ตี้ ที่ไอรีนกล่าวเตือนกับโฮล์มไว้ว่า 'อย่าประเมินเขาต่ำเกินไป เขาฉลาดปราดเปรื่องพอๆกับคุณ แต่ชั่วร้ายกว่า' โฮล์ม ต้องคอยแก้เกมส์และหยุดยั้งแผนการร้ายของ ศาสตราจารย์มอริอาร์ตี้ ด้วยความร่วมมือจาก วัตสัน คู่หูคนสนิทที่ภาคนี้ได้แต่งงานและเกือบจะได้ไปฮันนูมูน ก็ต้องโดนโฮล์มลากมาเจอเรื่องวุ่นๆเสียก่อน อีกคน คือ สาวยิปซี มาดามซิมซา ที่เข้ามาพัวพันกับเรื่องนี้เพื่อตามหาพี่ชายที่หายไป..... 


 ตัวละครหน้าใหม่ใน A Game Of Shadow
Mycroft พี่ชายของโฮล์ม ฉลาดกว่าและขี้เกียจกว่า

ผู้ร้ายของภาคนี้ ศาตราจารย์มอริอาร์ตี้
 ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้ (อังกฤษ : Professor James Moriarty) เป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องเชอร์ล็อก โฮลมส์ ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ เป็นศัตรูตัวฉกาจของโฮลมส์ คอยชักใยอยู่เบื้องหลังคดีหลายคดี แต่ไม่เคยมีใครจับได้ มอริอาร์ตี้เป็นผู้มีอำนาจขนาดว่าสามารถทำให้ทั่วยุโรปสั่นคลอนได้ ถูกขนานนามว่า นโปเลียนแห่งโลกอาชญากรรม มีสหายคนสนิทชื่อพันเอกมอแรน มอริอาร์ตี้เสียชีวิตที่น้ำตกไรเคนบาค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม
ศาสตราจารย์มอริอาร์ตี้ยังเคยปรากฏตัวในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ฉบับภาพยนตร์ ภาคปริศนาบนถนนสายมรณะ ในเกมโคคูนที่โคนันและเพื่อนๆเล่น โดยเป็นผู้เลี้ยงดูและเสี้ยมสอน แจ็กเดอะริปเปอร์ ให้เป็นฆาตกรที่โหดเหี้ยม
ใน เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ดับแผนพิฆาตโลก (พ.ศ. 2552) ศาสตราจารย์มอริอาร์ตี้ปรากฏตัวในความมืด เป็นผู้จ้างวานไอรีน แอดเลอร์ (ภายหลังมีการเปิดเผยว่าชื่อ มอริอาร์ตี้) และใน เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เกมพญายมเงามรณะ (พ.ศ. 2554) ศาสตราจารย์มอริอาร์ตี้ แสดงโดยนักแสดงชาวอังกฤษ จาเร็ด แฮร์ริส

Noomi Rapace ในบทสาวยิปซี

Noomi Rapace กับบทสาวยิปซีตัวช่วยไขคดีให้กับโฮล์ม และเป็นตัวละครเด่นในภาคนี้ เธอสลัดบทสาวพังค์ร๊อคจาก The girl with dragon tattoo (Sweden) จนไม่เหลือเคล้าให้ติดตา


AND JOKER From The Dark Knight







          พูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้
2 คู่หู วัตสัน ที่ไม่อ้วนลงพุง และ โฮล์ม NO Smoke
โรเบิร์ตยังรับบทเป็น นักสืบชื่อดังเชอร์ล๊อค โฮล์ม ที่ไม่สูบไปป์ แต่จะยียวนกวนประสาท จักกิด วัตสัน คู่หูของเขาแทน ซึ่งนี่เองที่เป็นเสน่ห์ทำให้คู่หูคู่นี้กอบโกยรายได้จากภาคแรกไปกว่า 500 ล้านเหรียญ  
การเผชิญหน้าครั้งแรกของ พระเอกและตัวร้าย
การเผชิญหน้าของพระเอกและตัวร้ายที่มีมันสมองพอๆกัน ในฉากสุดท้ายที่เป็นการดวลหมากรุก ทำออกมาได้ดีมาก และสิ่งที่น่าสงสัยคือ โฮล์มกับมอริอาร์ตี้น่าจะเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันจากการเล่นหมากรุกโดยไม่ใช้กระดาน และ พลังอ่านความคิดล่วงหน้า 

สำหรับโฮล์มภาคนี้ดูเหมือนกับมีความเกี่ยวพันกับหนังหลายๆเรื่องที่เข้าพร้อมๆกัน
Mission Impossible 4 : บทบาทของโฮล์มเป็นเหมือน อีธาน ฮันต์ ที่มาเก่งทั้งบุ๋นและบู๊ วางแผนต่อสู้กับจารชน นักสืบ(สายลับ) จากลอนดอน
ผู้ร้าย : ศาตราจารย์มอริอาร์ตี้ และ ศาตราจารย์เฮนดริก นักวิทยาศาตร์ อาจารย์ ผู้บรรยาย ที่มาเป็นตัวร้ายวางแผนให้เกิสงคราม คนหนึ่ง ใช้การลอบสังหาร อีกคนใช้อาวุธนิวเคลียร์
นักแสดง : จาก The girl with dragon tattoo นางเอก Noomi Rapace จากบทสาวพังค์มาเป็นสาวยิปซี
Michael Nyqvist พระเอกจากเรื่องเดียวกันมาเป็นตัวร้ายจาก MI4

หรือ โฮล์มจะคือต้นกำเนิดของสายลับลอนดอน O_O

IMDB : 7.7/10
Rotten Tomatoes : 60%
Makopoto :  7/10 ดูเอาความสนุกสนานได้ แต่อย่างว่าโฮล์มดูจะเป็นสายลับนักบู๊มากไปหน่อย